การรับมือกับวิกฤติโรคระบาด Corona Virus สายพันธุ์ใหม่ หรือ COVID-19 ต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้นแพร่กระจายไปหลายทวีปทั่วโลก ทำให้บุคลาการทางการแพทย์ต้องรับบทหนัก ทั้งบุคลากรที่ขาดแคลน และเครื่องมือการทางแพทย์ที่มีไม่เพียงพอ ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในขณะนี้

เริ่มขั้นแรกคือเรื่องการคัดกรองผู้ป่วย แน่นอนว่าไม่สามารถทำได้ด้วยตาเปล่า และหากต้องตรวจโดยละเอียดทีละบุคคลต้องใช้ระยะเวลาอย่างมาก Nikkei Asian Review เผยแพร่ข่าวเรื่องบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน อย่าง Alibaba ได้นำนวัตกรรม AI (artificial intelligence) เข้ามาช่วยวินิจฉัยผู้ป่วย โดยวิธีฝัง ระบบ AI เข้าไปในเครื่อง CT สแกน เพื่อเทียบเคียงอวัยวะกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคปอดอักเสบจากไวรัส COVID-19 ซึ่งใช้ระยะวิเคราะห์เพียง 20 วินาที ซึ่งน้อยกว่าการวินิจฉัยจากแพทย์ที่ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 15 นาที รวมถึง   การันตีความแม่นยำกว่า 96% โดยโรงพยาบาลในจีนเริ่มใช้นวัตกรรมนี้แล้วเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการวินิจฉัยโรคและทำได้เป็นอย่างดี

สำหรับในประเทศไทยนอกจากระบบการคัดกรองด้วยครื่องตรวจจับอุณหภูมิ ยังได้เริ่มใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลผ่านระบบ Telemedicine ซึ่งใช้หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์เป็นตัวกลาง เพราะด้วยขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องกักกันเชื้อที่มิดชิด ทำให้การเข้าเช็คอาการผู้ป่วยที่ติดเชื้อล้วนมีแต่ความเสี่ยง ซึ่งหุ่นยนต์จะสามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ป่วย โดยหุ่นยนต์ถูกพัฒนาโดยภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ AIS

หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ของภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพัฒนากับ AIS : ที่มา AIS

ภาพแสดงการทำงานของหุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ : ที่มา AIS  

สำหรับคุณสมบัติเด่น คือ การโต้ตอบผ่านระบบ VDO Conference ระหว่างกลุ่มผู้ถูกเฝ้าระวังหรือผู้ป่วย ได้สื่อสารกับแพทย์โดยตรง โดยแพทย์ พยาบาล สามารถควบคุม สั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล ติดตามอาการโดยไม่ต้องเข้าไปสัมผัส นอกจากนี้ หุ่นยนต์บริการทางการแพทย์ สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพ (Vital sign) เช่น วัดความดัน, วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), วัดชีพจร, วัดอุณหภูมิ และส่งต่อข้อมูลไปยังแพทย์ เพื่อประเมิน ผลได้ทันที

 

ผศ.ดร. อรทัย สังข์เพ็ชร

ผศ.ดร. อรทัย สังข์เพ็ชร รองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์และวิจัย มหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล ให้สัมภาษณ์กับ OPEN-TECH ว่า จากข้อมูลของทาง WHO หรือองค์กรอนามัยโลก ประเทศไทยมีอัตราส่วน แพทย์ ต่อ ประชากร เป็น 8.096 ต่อประชากร 10,000 คน ถึงแม้ประเทศสหรัฐอเมริกา มีอัตราส่วนแพทย์ต่อประชากร อยู่ที่ 25.948 ต่อประชากร 10,000 คน ซึ่งถือว่ายังน้อย ทำให้ในอุตสาหกรรมการแพทย์เริ่มมีการใช้ AI ช่วยแพทย์ให้การวินิจฉัยโรคต่างๆ เพื่อลดความคาดเคลื่อนหรือผิดพลาดจากการวินิจฉัย (misdiagnosing illness and medical errors) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเนื่องจากประวัติคนไข้ที่ไม่สมบูรณ์ หรือแพทย์ต้องมีภาระหน้าที่รักษาคนไข้จำนวนมากจึงทำให้เกิดความผิดพลาดได้ (human errors) ได้

ดร.อรทัย ยกตัวอย่างในการนำ AI มาช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยจากข้อมูลหลายๆ รูปแบบ เช่น ภาพเอกซเรย์ (radiology images), ผลการตรวจเลือด (blood tests), คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKGs), ข้อมูลพันธุกรรม (genomics) เพื่อช่วยให้แพทย์มีข้อมูลเชิงลึกเพื่อประกอบการวินิจฉัยให้ได้ทันท่วงที เช่น วินิจฉัยระยะเริ่มต้นของมะเร็ง หรือเพื่อหาแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในตัวอย่างเลือดให้ได้อย่างรวดเร็ว หรือการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมเพื่อการพัฒนายารักษาโรค

“โดยในสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 พบว่าหลายบริษัทเทคโนโลยีได้พยายามนำ AI มาช่วยหาและคาดการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID19 เช่น Brownstein’sHealthMap ที่ถูกพัฒนาโดย Harvard Medical School โดยใช้ AI มาช่วย detect ระยะเริ่มต้นของการแพร่ระบาดในประเทศจีน หรือ startup สัญชาติแคนาดาชื่อ BlueDot ซึ่งเป็นระบบในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่โดยใช้ AI จากหลายๆแหล่ง เช่น การสื่อ การหน่วยงานด้านสุขภาพ และอื่นๆ โดยวันที่ 30 ธันวาคม 2562 ระบบพบว่ามีกลุ่มคนที่ติดเชื้อโรคปอดบวมแบบไม่ปกติ (Unusual pneumonia) cases) ซึ่งเกิดขึ้นในพื้นที่ตลาดใน Wuhan ประเทศจีน หลังจากนั้น 9 วัน WHO จะประกาศว่าพบเชื้อไวรัส Coronavirus สายพันธุ์ใหม่” ดร.อรทัยอธิบายทิ้งท้ายการให้สัมภาษณ์

 

ในอนาคตประเมินว่า AI จะมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากซึ่งคนไม่สามารถจำได้ แล้วประมวลผลออกมา ซึ่งอาจจะเป็น Patterns, Cluster, Trends, Prediction ขึ้นอยู่กับ Algorithms ซึ่งทำให้คนเราสามารถนำผลไปใช้ต่อยอดได้ ทำให้ประหยัดเวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ข้อมูลนี้อาจจะเป็นข้อมูลประวัติคนไข้ ข้อมูลการตรวจต่างๆ ข้อมูลของเทคนิคหรือความรู้ใหม่ๆที่มีการเผยแพร่ทางวารสารหรือการประชุมสัมมนา ซึ่งถ้าให้แพทย์วิเคราะห์ทั้งหมดนี้เพื่อตรวจวินิจฉัยก็อาจจะไม่ทันเวลา แต่ถ้าเราให้ AI มาช่วยดึงแต่เฉพาะข้อมูลที่น่าจะเกี่ยวข้องก็จะทำให้การทำงานของแพทย์เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ท้ายนี้ OPEN-TEC เชื่อว่าในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยเหลือการแพทย์ได้อย่างดีเยี่ยม เทียบจากสถิติการเกิดโรคระบาดในอดีต ที่ยังไม่มีการคัดกรองและรับมือได้เทียบเท่าปัจจุบัน และคาดว่าจะถูกพัฒนาเพื่อรับมือให้ได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

 

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล :

https://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus/Alibaba-says-AI-can-identify-coronavirus-infections-with-96-accuracy

http://investor-th.ais.co.th/news.html/id/766139/group/newsroom_press

 

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจากบทสัมภาษณ์

https://builtin.com/artificial-intelligence/artificial-intelligence-healthcare

https://www.who.int/gho/health_workforce/physicians_density/en/

https://www.thecrimson.com/article/2020/3/3/hms-coronavirus-tracking-tool/

https://www.cnbc.com/2020/03/03/bluedot-used-artificial-intelligence-to-predict-coronavirus-spread.html

https://www.businesswire.com/news/home/20200311005738/en/Next-Gen-Artificial-Intelligence-AI-Company-Graphen-Monitors